Happy Songkran - ร้านเปิดให้บริการตามปกติแล้วจ้า

รู้จักกับมอเตอร์แอร์ ชนิดของมอเตอร์ ส่วนประกอบ และหลักการทำงานโดยรวม

รู้จักกับมอเตอร์แอร์ ชนิดของมอเตอร์ ส่วนประกอบ และหลักการทำงานโดยรวม

มอเตอร์แอร์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ในเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้า ที่ใช้ในการเดินเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานกล ซึ่งมอเตอร์ไฟฟ้าในเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด จะมีความเร็วรอบ หรือกำลังที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดในการใช้งาน อีกทั้งมอเตอร์แอร์ จะมีประเภทที่แตกต่างกัน และส่วนประกอบที่มีหลากหลายชิ้นส่วน รวมไปถึงชุดป้องกันที่ถือเป็นส่วนสำคัญภายในเครื่องปรับอากาศ เพราะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นตัวป้องกันปัญหากระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อกับเครื่องปรับอากาศ

ชนิดของมอเตอร์แอร์

ชนิดของมอเตอร์แอร์ สามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด ตามลักษณะของการใช้กระแสไฟฟ้า ดังต่อไปนี้

  1. มอเตอร์กระแสตรง (Direct Current Motor) หรือ ดีซีมอเตอร์
  2. มอเตอร์กระแสสลับ (Alternating Current Motor) หรือเอซีมอเตอร์ โดยมอเตอร์ชนิดนี้ ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด ได้แก่ มอเตอร์แบบเฟสเดี่ยว 2 สาย เช่น มอเตอร์ในคอมเพรสเซอร์ที่ช่วยระบายความร้อนในคอยล์ และอีกชนิดเป็นมอเตอร์แบบ 3 เฟส

ส่วนประกอบของมอเตอร์แอร์

ส่วนประกอบของมอเตอร์แอร์ หรือ Split Phase Motor มีดังนี้

1. สเตเตอร์ (Stator) เป็นชิ้นส่วนที่ใช้สำหรับวางขดลวด หรือลวดอาบน้ำยา มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กบางๆ และมีร่องที่เรียกว่าสล็อด และสามารถแบ่งประเภทได้ 2 แบบ คือ

  • แบบขดรัน ที่เป็นขดลวดที่พันน้ำยา มีลักษณะใหญ่ มีขั้วเป็น N กับ S และจะนับเป็นคู่
  • แบบขดสตาร์ท (Start Winding) เป็นขดลวดที่ใช้สำหรับการทำงานของมอเตอร์ มีลักษณะเล็ก และแรงต้านทานน้อย

2. โรเตอร์ (Rotor) คือส่วนที่ทำหน้าที่หมุนปล่อยวงจรของขดลวดให้มีการแย่งออกจากกัน

3. สวิตช์แบบหนีแรงเหวี่ยง (Centrifugal Swich) ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือส่วนที่อยู่กับฝาครอบและส่วนที่หมุนอยู่ที่เพลาโรเตอร์

4. แคปรัน (Capacitor Run) เป็นส่วนที่อยู่ในวงจรไฟฟ้า หากมอเตอร์มีปัญหาหรือหยุดหมุน อาจเกิดจากตัวแคปรันที่รั่วหรือช็อตได้

มอเตอร์ของแอร์ ยังมีส่วนประกอบที่เป็นอุปกรณ์อีกหลายชิ้น มีทั้งพัดลมระบายอากาศสำหรับแผงคอยล์ร้อน และพัดลมโพรงกระรอกในคอยล์เย็น หรือมอเตอร์บานสวิงซ้ายขวา ขึ้นลง ที่เป็นมอเตอร์แบบกระแสสลับเฟสเดียวและสามเฟส

ชุดป้องกันของมอเตอร์แอร์ที่ควรรู้

สำหรับมอเตอร์ที่ใช้ในเครื่องทำความเย็น หากเกิดความร้อนจากภายนอกที่สูงเกินไป จะต้องมีชุดป้องกันไม่ให้อุณหภูมิสูงกว่าเกณฑ์ และเป็นการป้องกันไม่ให้มอเตอร์ไหม้ โดยการตัดกระแสไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ ซึ่งชุดป้องกันจะมี 2 แบบด้วยกัน คือ แบบสำหรับป้องกันอุณหภูมิและกระแส อีกทั้งยังสามารถแบ่งได้เป็น 4 ชุดดังนี้

1. ชุดป้องกันความร้อนภายในมอเตอร์

เริ่มต้นด้วยชุดป้องกันความร้อนที่อยู่ภายในตัวมอเตอร์ (Internal Thermostatic Motor Protector) เป็นชุดป้องกันมอเตอร์ที่ผลิตขึ้นจากโลหะสองชนิดด้วยกัน โดยจะติดอยู่ภายใน และชุดป้องกันนี้ก็จะเสียบเข้าไปในเขตลวดสเตเตอร์ ซึ่งเมื่ออุณหภูมิของคดลวดสูงขึ้น คอนแทคจะเปิดออกโดยการโค้งงอของโลหะสองชนิด อีกทั้งชุดป้องกันชุดนี้จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ

2. ชุดป้องกันความร้อนภายนอกมอเตอร์

เป็นชุดสำหรับป้องกันความร้อนภายนอกมอเตอร์ (External Thermostatic Motor Protector) โดยชุดดังกล่าวถูกติดตั้งอยู่ภายนอกคอมเพรสเซอร์ ซึ่งมีตัวคอนแทคทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้าด้วยการงอของโลหะสองชนิด ในขณะที่รับความร้อนจากตัวเรือนของคอมเพรสเซอร์ และความร้อนจากกระแสไฟฟ้าที่ไหลเกินเกณฑ์

3. สวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า

สวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Switch) ทำหน้าที่เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ โดยใช้วิธีการให้กระแสไหลเข้าขดลวดของสวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า ส่งผลให้คอนแทคหรือหน้าสัมผัสทั้งสามเฟส และเมื่อมีการตัดไม่ให้กระแสไฟฟ้าเข้าลวด คอนแทคจะแยกจากกัน ซึ่งเรียกชุดนี้ว่า คอนแทคเตอร์ (Contactor) โดยคอนเทคเตอร์จะมีรีเลย์ที่คอยป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลเกินเกณฑ์ (Overcurrent Relay)

4. ชุดป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์แบบปรอท

ปิดท้ายด้วยชุดป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์แบบปรอท (Mercury Overcurrent Relay) ที่จะช่วยชดเชยผลเสียของสวิตซ์แม่เหล็กไฟฟ้า และมีรีเรย์ที่ช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินเกณ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง เพราะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความแม่นยำสูง ช่วยป้องกันเมื่อเกิดเหตุการณ์กระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์ และไม่ขึ้นกับอุณหภูมิ

ถือเป็นชุดอุปกรณ์ป้องกันที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ และป้องกันไม่ให้เครื่องปรับอากาศต้องเจอปัญหากระแสไฟฟ้าเกินเกณฑ์ ซึ่งใครที่แอร์เสีย แอร์ดับบ่อย อาจเป็นที่มอเตอร์ถูกใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน หรือมีการใช้งานที่หนักจนเกินไป ดังนั้นการมีชุดป้องกันมอเตอร์ที่ได้คุณภาพ จะช่วยให้การทำงานของเครื่องปรับอากาศมีความไหลลื่น และสามารถป้องกันปัญหาของเรื่องไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

ทั้งหมดนี้คือ 4 ชุดป้องกันของมอเตอร์แอร์ ที่ช่างเทคนิคต้องรู้ ถือเป็นข้อมูลดีๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจการทำงานของระบบมอเตอร์แอร์ และทราบถึงประเภทของมอเตอร์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลรักษาหรือซ่อมแซมในอนาคตได้