วิธีการตัดท่อพาความเย็น ท่อแอร์ ในเครื่องปรับอากาศ

วิธีการตัดท่อพาความเย็น ท่อแอร์ ในเครื่องปรับอากาศ

ในขั้นตอนการติดตั้งเครื่องปรับอากาศหรือแอร์ การทำให้ท่อพาความเย็น/ท่อแอร์ สามารถพาน้ำยาแอร์ไหลไปได้อย่างครบวงจรจะทำได้ดีขึ้นหรือไม่นั้นล้วนอยู่กับฝีมือช่างผู้ชำนาญ และวิธีดูแลเอาใจใส่ท่ออย่างถูกต้องเหมาะสม ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบการทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงได้อย่างแท้จริง

ชนิดของท่อพาความเย็นในเครื่องปรับอากาศ

ท่อพาความเย็นในเครื่องปรับอากาศสามารถใช้ได้ดี โดยแบ่งออกตามลักษณะภายนอกของท่อได้เป็น 2 แบบคือ

  • ท่อแบบแข็งเช่น ท่อแสตนเลส ท่อทองแดง
  • ท่อแบบอ่อน เช่น ท่ออลูมิเนียม ท่อทองแดงอ่อนหรือจะเป็นโลหะผสมที่มีลักษณะอ่อนนิ่มงอได้

การใช้ท่อพาความเย็นควรคำนึงถึงความยากง่ายในการหาซื้อ ราคาที่เหมาะสม ความแข็งหรืออ่อนของท่อที่จะใช้ต่อกัน ส่วนใหญ่ท่อแอร์จะแถมมากับเครื่องปรับอากาศ ดยมีระยะความยาวท่อให้แล้ว 4 เมตร ซึ่งถือเป็นระยะในการติดตั้งที่เหมาะสมที่สุด โดยมักนิยมใช้ขนาดที่มีขายอยู่ทั่วไปคือ ขนาด 25-30 ฟุต

วิธีการตัดท่อแอร์เย็นที่ถูกต้อง

เมื่อเลือกหาท่อที่จะนำมาใช้ต่อได้แล้ว ก็จะนำมาตัดเพื่อต่อด้วยขนาดที่เหมาะสมกล่าวคือ หากเป็นท่อชนิดอ่อน อุปกรณ์ที่ใช้ตัดที่ดีก็ควรใช้คัตเตอร์ตัดท่อ หากเป็นท่อแสตนเลสที่มีความหนามาก และเส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดใหญ่ก็ควรตัดด้วยเลื่อยมือหรือเบนเดอร์ตัดท่อแบบหนา

1. การตัดด้วยคัทเตอร์

หากต้องการจุดตัดที่มีความยาวเท่าใดหรือตำแหน่งใด ให้ทำเครื่องหมายที่จุดที่ต้องการนั้นๆ ให้ชัดเจน แล้ววางท่อในร่องนำคัทเตอร์ หมุนมือให้ใบตัดคัทเตอร์กดลงบนท่อจนครบรอบท่อนั้นๆ จากนั้นหมุนมือเพื่อให้ใบตัด ตัดเนื้อท่อจนกว่าจะขาดออกจากกันโดยหมุนประมาณ 1/16 ของมือหมุน

2. การตัดด้วยใบเลื่อย

เช่นเดียวกับการตัดด้วยคัทเตอร์ด้วยการทำเครื่องหมายในจุดที่ต้องการ แล้วใช้ปากกาจับงานกลมจับไว้ก่อนใช้ใบเลื่อยแบบมือเลื่อยจนขาด เมื่อผนังท่อทะลุแล้วก็หมุนท่อตัดให้ขาดโดยรอบ

ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ เมื่อตัดท่อเรียบร้อยแล้วจะต้องรีมท่อให้เรียบร้อยด้วยรีมเมอร์ท่อทุกครั้งเพื่อให้รูของท่อที่ตัดมีขนาดเท่าเดิม

วิธีการบานปลายท่อ (Flair Tubing)

เมื่อท่อขาดออกจากกันแล้วการบานปลายท่อของท่อทองแดงเพื่อให้บานรับเข้ากับบ่าของเกลียวนอก และเพื่อให้ท่อทองแดงเข้ากับระบบทำความเย็นก็สำคัญ โดยจะต้องใช้ตัวนัท (Fare Nut) ทำการกวดอัด เนื่องจากเป็นเครื่องที่ใช้เฉพาะซึ่งจะประกอบไปด้วยแท่นจับท่อ (Flare Nut) ซึ่งแท่นจับท่อนี้จะมีหลายขนาด พอเหมาะกับขนาดท่อที่ต้องการบานท่อ หลังจากจับแล้ว ให้ใช้ตัวบานท่อ (Flaring nut) กดลงไปที่ท่อ โดยให้ท่อเลยพ้นออกมา เรียกว่าการบานเพียงชั้นเดียว การบานท่อนี้สามารถทำได้ 2 ชั้นและใช้การขยายท่อ (Swage) ก็ได้ ซึ่งการบานท่อ 2 ชั้นและการขยายท่อก็ใช้อุปกรณ์การบานท่อ (Flaring nut) เหมือนกัน แต่การบานท่อ 2 ชั้นจะต้องใช้ Adapter เพิ่มเข้ามาร่วมด้วยอีกตัว

การบานท่อเป็นการทำให้สามารถต่อท่อทำความเย็นให้เข้ากับระบบได้ แต่การขยายท่อนั้นเป็นการทำท่อที่มีขนาดเท่ากันสามารถสวมให้เข้ากันได้ อีกทั้งยังเป็นการลดวิธีเชื่อมและยังคงมีความคงทนกว่าการที่จะนำท่อมาชนต่อกันแบบธรรมดา หากทำถูกวิธีการตัดท่อ การบานท่อหรือขยายท่อก็จะไม่เกิดปัญหาต่อเครื่องปรับอากาศอย่างแน่นอน