5 ลำดับขั้นตอน ในการปฏิบัติ เพื่อใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า ให้ปลอดภัย
1. การตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าก่อนใช้งาน เช่น มัลติมิเตอร์ ซึ่งสามารถวัดค่าได้หลายชนิด จึงจำเป็นจะต้องระมัดระวังในการปรับตั้งสวิตซ์เลือกให้ถูกต้องตรงกับค่าที่จะวัด เพื่อให้ได้ค่าที่ละเอียดถูกต้องและไม่ทำให้เครื่องมือวัดเสียหาย
2. การเลือกเครื่องมือวัดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ เช่น ใช้โวลด์มิเตอร์สำหรับตรวจสอบวงจรเมื่อมีไฟจากแหล่งจ่ายต่อเข้าในวงจร หรืออาจจำเป็นต้องเลือกใช้แอมมิเตอร์ร่วมกับโวลต์มิเตอร์ในการตรวจสอบปัญหาในวงจร ส่วนกรณีที่ถอดอุปกรณ์ออกจากวงจรจะต้องตรวจสอบโดยใช้โอห์มมิเตอร์ เป็นต้น
3. ตรวจสอบพิกัดของแรงดันไฟฟ้า ของแหล่งจ่ายให้ตรงกับแรงดันไฟฟ้าที่ต้องการใช้งานในวงจร
4. ก่อนจ่ายกระแสไฟเข้าในวงจรที่ผ่านการตรวจซ่อมหรือติดตั้งใหม่ เพื่อความปลอดภัยให้ดำเนินการดังนี้
- ตรวจสอบการลัดวงจรของอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าโดยใช้โอห์มมิเตอร์ปรับสเกล R x 1 วัดความต้านทานคร่อมระหว่างสายไฟที่ต่อเข้าวงจรทั้งสองเส้น จะต้องมีความต้านทานเกิดขึ้น ถ้าเข็มชี้ที่ 0 โอห์มแสดงว่าเกิดการลัดวงจร ห้ามจ่ายไฟเข้าในวงจรโดยเด็ดขาด
- ตรวจสอบการรั่วลงกราวด์เพื่อป้องกันอันตรายเนื่องจากไฟฟ้ารั่วผ่านร่างกาย ให้ใช้โอห์มมิเตอร์ปรับสเกลความต้านทานสูงที่สุด แตะปลายสายเส้นหนึ่งที่โครงส่วนที่เป็นโลหะโดยจะต้องไม่มีสีหรือส่วนที่เป็นฉนวนไฟฟ้าเคลือบอยู่ ส่วนปลายสายอีกเส้นหนึ่งของมิเตอร์แตะที่ขั้วไฟที่ต่อเข้าวงจรทั้งสองขั้ว โอห์มมิเตอร์จะต้องชี้ความต้านทานเป็นอนันต์ ถ้าชี้ค่า 0 โอห์ม ห้ามจ่ายไฟเข้าในวงจร เพราะจะเกิดการรั่วลงกราวด์เป็นอันตรายกับผู้มาสัมผัสกับโครงของเครื่องทำความเย็นดังกล่าว
5. ตรวจสอบและวิเคราะห์ปัญหาของอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าที่เกิดขึ้นโดยใช้โวลด์มิเตอร์ แอมมิเตอร์หรือโอห์มมิเตอร์ปฏิบัติตามลำดับขึ้นต่อไป