ใครเป็นคนประเมินความเสี่ยง เรื่องอันตรายในอุตสาหกรรมห้องเย็น

ใครเป็นคนประเมินความเสี่ยง ตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตรายการประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง พ.ศ. 2543 ดำเนินการโดยกลุ่มบุคลากรของกรมโรงงานอย่างน้อย 3 คน ที่มีคุณสมบัติครอบคลุมดังนี้

  1. ผู้มีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต เทคโนโลยีการผลิต และการซ่อมบำรุง
  2. ผู้มีความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพความปลอดภัยในโรงงาน
  3. ผู้มีความรู้ ความเข้าใจในการชี้บ่งอันตรายการประเมินความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง

รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงประกอบด้วยอะไรบ้าง

ข้อ 2 ของประกาศกระทรวงฯ และระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดว่ารายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงานจะต้องประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

  1. ข้อมูลทั่วไปของการประกอบกิจการโรงงานเช่น แผนที่ทำเลที่ตั้งสาธารณะสถาน และชุมชนใกล้เคียงในรัศมี 500 เมตรโดยรอบ แผนผังโรงงานขนาดมาตราส่วน 1:100 หรือขนาดที่เหมาะสม แผนภูมิแสดงขั้นตอนการผลิต จำนวนผู้ปฏิบัติงานและอื่นๆ
  2. การชี้บ่งอันตราย และประเมินความเสี่ยงเพื่อแจกแจงและวิเคราะห์สภาพของอันตรายต่างๆ ที่มีอยู่หรือแอบแฝงอยู่ อาจก่อให้เกิดอันตรายจากอุบัติเหตุการเกิดเพลิงไหม้ ระเบิดและการรั่วไหลของแอมโมเนียโดยปกติจะใช้เทคนิค Checklist/what if ในการชี้บ่งและประเมินสภาพอันตรายทั่วๆ ไป และใช้เทคนิค HAZOP ในการชี้บ่งและประเมินความเสี่ยงอันตรายจากระบบทำความเย็นทั้งระบบ3) การจัดทำแผนงานบริหารจัดการ ความเสี่ยงโดยจัดทำแผนงานลดความเสี่ยง และแผนควบคุมความเสี่ยงเช่น มาตรการควบคุมและแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน จากการรั่วไหลของแอมโมเนีย

สรุป รายงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงานฉบับนี้อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

  • ข้อมูลรายละเอียดทั่วไปของการประกอบกิจการ
  • บัญชีรายการที่เป็นความเสี่ยง และอันตราย
  • ข้อมูลรายละเอียดชี้บ่งอันตราย และการประเมินความเสี่ยงของสิ่งที่เป็นความเสี่ยง และอันตราย
  • ข้อมูลรายละเอียดแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยง
  • บทสรุปผลการศึกษา วิเคราะห์และทบทวนการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ความเสี่ยงสูง ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้

รวมถึงแผนงานลดความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยง

โรงงานได้อะไรจากการประเมินความเสี่ยง จากการประเมินความเสี่ยงที่ถูกต้องจะทำให้ทราบถึงลักษณะของอันตรายที่มีอยู่ หรือแอบแฝงอยู่ ขนาดของความเสี่ยงในแต่ละจุดว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่แผนงานการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อลดหรือควบคุมความเสี่ยง โดยมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยจากอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมห้องเย็น โดยเฉพาะการรั่วไหลของแอมโมเนียที่อาจเกิดขึ้นได้

จะทราบข้อมูลเพิ่มเติมรายละเอียดได้อย่างไร หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถขอรับเอกสารที่เกี่ยงข้องกับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2542) และระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การชี้บ่งอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการจัดทำแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงได้ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดต่างๆหรือดูได้ที่เว็บไซด์ http://www.diw.go.th

บทสรุป ถ้าเป็นห้องเย็นลำดับที่ 92 ประเภทที่ 3 จะต้องทำรายงานฉบับนี้ ด้วยบุคลากรของโรงงานเองได้ที่มีความรู้ทั้งกระบวนการผลิตและระบบทำความเย็นความปลอดภัยและการชี้บ่ง และประเมินความเสี่ยงโดยใช้เทคนิค Checklist/whatif และ HAZOP พร้อมแผนงานบริหารจัดการความเสี่ยงส่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดต่างๆ สำหรับโรงงานที่อยู่ต่างจังหวัดและสำนักงานนิคมอุตสาหกรรม สำหรับโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น