Happy Songkran - ร้านเปิดให้บริการตามปกติแล้วจ้า

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) และ คอนเดนซ์ซิ่ง (Condensing) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) และ คอนเดนซ์ซิ่ง (Condensing) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

คอมเพรสเซอร์ (Compressor) หรือที่รู้จักกันในฐานะเครื่องอัดสำหรับเพิ่มความดันของสารความเย็นที่อยู่ในสภาวะเป็นไอ เป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของเครื่องจักรไฟฟ้า เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ของแอร์เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยส่งผ่านน้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็นไปตามท่อน้ำยาแอร์ ซึ่งจะช่วยให้เครื่องปรับอากาศสามารถทำความเย็นได้ โดยสามารถสรุปหน้าที่ของคอมเพรสเซอร์ได้ทั้งหมด 2 ประการ ดังนี้

1. ส่งน้ำยาแอร์ผ่านท่อไปยังเครื่องควบแน่น หรือที่เรียกว่า Condensing Unit

เมื่อคอมเพรสเซอร์ส่งน้ำยาแอร์ไปยังเครื่องควบแน่น สารทำความเย็นดังกล่าวจะผ่านกระบวนการควบแน่นที่ทำให้กลายเป็นไอหรือแก๊ส จากนั้นจึงถูกส่งต่อไปยังคอยล์เย็น (หรือคอยล์พัดลม) เพื่อลดแรงดันสูงและทำให้อุณหภูมิลดลง ทำให้เครื่องปรับอากาศสามารถทำความเย็นได้ตามที่ต้องการ

2. ดูดสารทำความเย็นกลับสู่ระบบทำความเย็น

หลังจากที่สารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ ได้ผ่านกระบวนการควบแน่นกลายเป็นไอหรือแก๊สที่ช่วยระบบคอยล์เย็นทำงานในการลดอุณหภูมิของห้องแล้ว คอมเพรสเซอร์จะทำหน้าที่ดูดสารดังกล่าวกลับมายังระบบทำความเย็นอีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นวัฏจักรการทำงานของเครื่องปรับอากาศ โดยมีหัวใจสำคัญอย่างคอมเพรสเซอร์เป็นตัวควบคุมการไหลเวียนของน้ำยาแอร์ที่หากเกิดหยุดทำงาน ไม่ว่าจะด้วยการขัดข้องหรืออายุการใช้งานมาก ก็จะส่งผลทำให้เครื่องปรับอากาศไม่สามารถทำงานได้ในทันที

คอนเดนซ์ซิ่ง (Condensing) คืออะไร

นอกจากคอมเพรสเซอร์แล้ว คอนเดนซ์ซิ่งก็เป็นอีกหนึ่งกลไกที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบทำความเย็น เนื่องจากคอนเดนซ์ซิ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนออกมาจากสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ เพื่อทำให้ความดันของสารทำความเย็นที่ผ่านกระบวนการควบแน่นกลายเป็นไอแล้วเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศสามารถทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ กระบวนการอัดไอและความดันที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของคอมเพรสเซอร์และคอนเดนซ์ซิ่งจึงนับว่ามีความสำคัญต่อระบบทำความเย็นมาก การเลือกคอมเพรสเซอร์แต่ละประเภทให้มีความเหมาะสมกับขนาดและกลไกของเครื่องปรับอากาศจึงควรใส่ใจเลือกใช้อย่างสอดคล้องกัน

คอมเพรสเซอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

การทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์มีหลักการทำงานที่เหมือนกันคือ การอัดน้ำยาแอร์ให้มีแรงดันสูง และส่งปฏิกิริยาต่อระบบการทำความเย็นของแอร์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะมีความแตกต่างไปตามประเภทของคอมเพรสเซอร์ และสารทำความเย็นที่ใช้งาน ทั้งนี้ การแบ่งประเภทของคอมเพรสเซอร์เครื่องปรับอากาศ สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามวิธีการอัดเชิงปริมาตรซึ่งเป็นการอัดไอคอมเพรสเซอร์ประเภทหนึ่ง ดังนี้

1. คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ (Reciprocating)

การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบนี้นั้นจะใช้เพลาข้อเหวี่ยง (Crank Shaft) เป็นตัวทำให้ลูกสูบดูดอัด และเคลื่อนที่ในลักษณะเส้นตรงภายในกระบอกสูงที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์หรือเครื่องยนต์ การดูดไอสารทำความเย็นที่เกิดขึ้นผ่านลิ้นดูดจะเกิดขึ้นเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เป็นจังหวะ จากนั้นน้ำยาแอร์จะถูกกักเก็บไว้ในกระบอกสูบซึ่งเมื่อเลื่อนขึ้นจะทำปฏิกิริยาให้ความดันของระบบทำความเย็นสูงขึ้น และทำให้ลิ้นเปิดนำไปสู่การไหลเวียนของสารทำความเย็นในวัฏจักรการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศต่อไป

2. คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ (Rotary)

การทำงานของคอมเพรสเซอร์ประเภทนี้จะใช้ลูกปืนสำหรับฉีดสารทำความเย็นเข้าสู่ระบบ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ ประกอบด้วย เครื่องอัดโรตารี่แบบลูกสูบหมุน และเครื่องอัดโรตารี่แบบใบพัดหมุน โดยคอมเพรสเซอร์ทั้ง 2 จะมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน ในขณะที่เครื่องอัดโรตารี่แบบลูกสูบหมุนใช้ลูกสูบหมุนที่มีลักษณะเป็น Roller หมุนรอบเพลาลูกเบี้ยว เครื่องอัดโรตารี่แบบใบพัดหมุนจะใช้ใบพัดหมุนเป็นกลไกสำคัญภายในช่องเพลาลูกเบี้ยว มีหน้าที่ทำความเย็นและรักษาความเย็นให้อยู่ในบริเวณดังกล่าว ผ่านการใช้วาล์วกั้นไม่ให้สารทำความเย็นรั่วไหลออกไปได้

ทั้งนี้ คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ทั้ง 2 แบบต่างก็มีหน้าที่ในการควบคุมสารทำความเย็นเช่นเดียวกัน และมีจุดเด่นที่ความเงียบและมีแรงสั่นสะเทือนระหว่างการทำงานไม่มาก

3. คอมเพรสเซอร์แบบก้นหอย (Scroll)

ลักษณะเด่นที่เห็นได้อย่างชัดเจนของคอมเพรสเซอร์ประเภทนี้คือรูปร่างที่คล้ายคลึงกับก้นหอย มีคุณสมบัติสามารถควบคุมการไหลเวียนของสารทำความเย็นได้เป็นปริมาณมาก จึงนิยมใช้สำหรับเครื่องทำน้ำเย็นขนาดใหญ่ การใช้คอมเพรสเซอร์แอร์ประเภทนี้นั้นไม่ต่างจากการนำจุดเด่นของคอมเพรสเซอร์แอร์แบบลูกสูบและโรตารี่มารวมกันนั่นเอง

4. คอมเพรสเซอร์แบบสกรู (Screw)

เป็นตอมเพรสเซอร์ที่ใช้งานสกรูเป็นกลไกในการควบคุมการไหลเวียนของสารทำความเย็น โดยเฉพาะการทำงานของสกรูตัวผู้และตัวเมียซึ่งใช้ประโยชน์ในการเก็บและรีดสารทำความเย็นออกมาตามแกนของสกรูทั้งสองตัว เมื่อระบบทำความเย็นทำงาน สารทำความเย็นที่ผ่านกระบวนการควบแน่นกลายเป็นไอจะไหลเข้าไปอยู่ในช่องว่างระหว่างเกลียว ทำให้สกรูสามารถกักเก็บความเย็นไว้ได้ก่อนที่จะปล่อยออกไปเพื่อเริ่มต้นวัฏจักรของระบบทำความเย็นอีกครั้ง

5. คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal)

คอมเพรสเซอร์ชนิดนี้ใช้แรงเหวี่ยงของใบพัดในการทำความเย็น เหมาะสำหรับการใช้กับเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ เนื่องจากคอมเพรสเซอร์ดังกล่าวควบคุมสารทำความเย็น ด้วยการดูดสารดังกล่าวเข้ามาที่แกนกลางของคอมเพรสเซอร์ผ่านใบพัด และจะรักษาสารทำความเย็นให้คงอยู่ตลอดระหว่างที่เครื่องปรับอากาศทำงาน จากนั้นจึงปล่อยให้สารทำความเย็นกลับคืนสู่ระบบทำความเย็นต่อไปเมื่อใบพัดหยุดทำงาน