Happy Songkran - ร้านเปิดให้บริการตามปกติแล้วจ้า

หลักการกระจายลม ของระบบปรับอากาศ

ลมเย็นที่ออกจากหัวจ่ายลมจะมีความเร็วประมาณ 400-600 ฟุตต่อนาที ซึ่งเมื่อเทียบกับอากาศภายในห้องที่อยู่นิ่งแล้วก็นับว่าแตกต่างกันมาก ทีนี้อะไรจะเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าลมเย็นที่ออกจากหัวจ่ายที่มีความเร็วสูง ในที่นี้จะเรียกว่าอากาศหลัก (primary air) บริเวณใกล้ ๆ หัวจ่ายจะมีความเร็วมากกว่าปริมาณที่ห่างจากหัวจ่ายออกไป เนื่องจากพลังงานไม่สูญหายไปไหน (energy conservation) อากาศหลักตรงจุดที่ออกจากหัวจ่ายมีความเร็วสูงย่อมทำให้เกิดความดันไดนามิก สูงตามไปด้วย ผลที่ตามมาก็คือความดันสแตติกตรงจุดเดียวกันนั้นจะต่ำ เป็นผลทำให้อากาศรอง (secondary air) ที่มีความดันสแตติกสูงกว่า (เนื่องจากหยุดนิ่งไม่มีความดันไดนามิก) ไหลเขจ้ามาแทนที่ จึงทำให้เกิดการไหลวนของอากาศบริเวณหัวจ่ายลม และจะเกิดการไหลวนอย่างตลอดไปจนกว่าแอร์จะถูกปิด การไหลวนจะเกิดมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ

  1. ความเร็วลมที่ออกจากหัวจ่าย ยิ่งถ้าความเร็วลมมาก ๆ โอกาสเกิดการไหลวนก็จะมากขึ้นด้วย
  2. ลักษณะโครงสร้างของหัวจ่ายลม หัวจ่ายลมแนวดิ่งที่มีโครงสร้างทำให้เกิดการกระจายลมในแนวดิ่งมาก ๆ จะมีโอกาสเกิดการไหลวนของอากาศตรงหัวจ่ายลมน้อยกว่า หัวจ่ายลมแนวดิ่งที่ทำให้เกิดการกระจายลมในแนวดิ่งน้อย ๆ แต่สิ่งที่ได้ตามมาก็คือการกระจายลมจะไม่ทั่วถึง ซึ่งบางทีอาจทำให้เกิดกระแสลมแรงหรือการดร๊าฟต์ (draft) ในบริเวณใต้หัวจ่ายลมอีกด้วย

เมื่อเราทราบถึงลักษณะการไหลของอากาศตรงบริเวณหัวจ่ายลมแล้ว ทีนี้ก็จะเป็นการง่ายที่จะเข้าใจอาการที่หัวจ่ายลมสกปรกเป็นคราบดำ ๆ นั้น ก็มีผลมาจากปรากฏการณ์อันนี้ด้วย ดังจะได้กล่าวต่อไปภายหลัง