ชนิด และขนาด ของสายไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าเมื่อผ่านในสายย่อมจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นในสายนั้นและความร้อนที่เกิดขึ้นอาจทวีจำนวนหรืออาจเปลี่ยนแปลงตามค่ากำลังของกระแสที่ผ่านเข้าไป ถ้าเกิดความร้อนมากอาจทำให้ฉนวนที่หุ้มสายนั้นละลายหรือเสื่อมคุณภาพได้เร็วขึ้น จึงต้องมีมาตรฐานของฉนวนที่จะทำการหุ้มเส้นลวด โดยไม่ให้เกิดอันตรายแม้แต่สายเปลือกที่ไม่มีฉนวนหุ้มก็ต้องมีอัตราจำกัดของกระแสไฟฟ้าที่จะผ่านไปได้ โดยไม่เกิดความร้อนจัด หรือเกิดอันตรายต่อวัตถุที่อยู่ใกล้เคียงกับสาย
การวัดขนาดสายไฟ
ใช้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของเนื้อที่ตัดทางขวาง ไม่รวมทั้งฉนวน เป็นตารางนิ้ว หรือตารางกิโลเมตร ทั้งนี้แล้วแต่หน่วยของเส้นผ่าศูนย์กลาง ส่วนมากนิยมใช้เซอร์คิวเลอร์ มิล (Circular Mil) เป็นเนื้อที่หน้าตัดของวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิล หรือเทียบมิลหนึ่งเท่ากับ 1/1000 นิ้ว หรือ 0.001 นิ้ว
โดยทั่วไปเรามักจะเรียกขนาดสายตามเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นเบอร์ขนาดของอเมริกันกับอังกฤษในเรื่องเบอร์จึงอาจแตกต่างกันได้บ้าง เช่น
อังกฤษเบอร์ 16 = อเมริกันเบอร์ 14
ขนาดของเบอร์นี้วัดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 0.064 นิ้ว หรือ 24 มิล ซึ่งเป็นขนาดที่รับการผ่านของกระแสได้ประมาณ ๖-๘ แอมแปร์ เป็นสายที่นิยมใช้ทำเป็นสายใหญ่ (Main Line) ภายในอาคาร และในกำหนดดวงไฟประมาร 3-6 ดวง
การเรียกขนาดสายเป็นเบอร์นี้ ผู้ศึกษาในเรื่องไฟฟ้าควรทราบว่าขนาดใหญ่จะต้องเป็นเบอร์ 0 หรือเบอร์ 0000 ส่วนที่เล็กลงไปคือเบอร์ 3-4 ไปจนถึงเบอร์ 40
สายไฟขนาดเบอร์ 22-40 เป็นสายขนาดเล็ก ไม่เหมาะทำเป็นสายไฟฟ้าที่ใช้เดินภายในอาคารหรือบ้าน สำหรับสายไฟขนาดเบอร์ 20 ขึ้นไป ถึงเบอร์ 15 เหมาะสำหรับใช้ภายในอาคารที่ไม่มีการใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ไฟฟ้า (Motor) สำหรับโรงงานอาจจะใช้สายเบอร์ 10 ขึ้นไปถึงเบอร์ 0000 ซึ่งเป็นสายขนาดใหญ่ เหมาะแก่กำลังการรับกระแสไฟฟ้า
การเรียกขนาดของสายอีกแบบหนึ่งคือ เรียกจำนวนเส้นลวดที่พันเกลียวร่วมกัน กับขนาดความยาของเส้นผ่าศูนย์กลางสายด้วยกัน เช่น
สายขนาด 7/064 เท่ากับสายชนิดพันเกลียวลวด 7 สาย และมีความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลาง 64 มิล หรือ 0.064 นิ้ว สายลดที่พันเกลียวจำนวนมากขึ้นเป็นการเพิ่มกำลังการรับ และต้านทานกระแสสูงได้มาก
มาตรฐานของสายในการใช้ขนาดร่วมกันนี้ โรงงานผู้ผลิตสายจำเป็นจะต้องผลิตและเรียกให้เป็นการสอดคล้องต้องกัน ไม่ว่าสายลวดภายในจะเป็นชนิดหลายเส้นพันเกลียว หรือเส้นเดียว