Happy Songkran - ร้านเปิดให้บริการตามปกติแล้วจ้า

ข้อกำหนดทั่วไป เพื่อความปลอดภัยในโรงงาน ที่มีระบบทำความเย็น แบบแอมโมเนีย

ข้อกำหนดทั่วไปเพื่อความปลอดภัย ของระบบทำความเย็น เพื่อความปลอดภัย ในการใช้งานของระบบเครื่องทำความเย็นที่ใช้สารแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น (refrigerant) โดยกล่าวถึงอุปกรณ์เครื่องจักร เช่น คอมเพรสเซอร์, คอนเดนเซอร์, ระบบท่อ ฯลฯ

  1. อุปกรณ์วัดทุกตัวที่ติดตั้งต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี,อุปกรณ์วัดที่เสียหาย ชำรุด ต้องถูกเปลี่ยนทดแทน
  2. แอกคิวมิวเลเตอร์หรือถังอินเตอร์คูลเลอร์ควรติดตั้งสวิทซ์ลูกลอยคุมระดับสูง (high level floatswitches) และทำการเตือนเมื่อระดับน้ำยาสูง ในทางปฏิบัติอาจจะสั่งงานให้คอมเพรสเซอร์ หยุดทำงาน
  3. วาล์วสกัดตัวหลักต่างๆ ในระบบ, วาล์วเมนน้ำยาเหลว (king valve), วาล์วสกัดเมนท่อแก๊สร้อนดีฟรอสท์, วาล์วเมนปิดน้ำยาเหลวจากปั๊มแอมโมเนีย,วาล์วตัดต่อปั๊มแอมโมเนีย ต้องอยู่ในที่ๆ เข้าถึงได้สะดวกและมีป้ายชื่อบอกเห็นได้ชัดเจน
  4. ต้องมีป้ายแสดงบอกอย่างชัดเจนในทุกๆ ระบบเครื่องทำความเย็น แสดงข้อมูลดังนี้
    ก. ชื่อและที่อยู่ของผู้ติดตั้งระบบ
    ข. น้ำยา (แอมโมเนีย), หมายเลข (R717),ปริมาณน้ำยาที่เติมในระบบ
    ค. ชนิดของน้ำมันหล่อลื่นและปริมาณ
    ง. ความดันทดสอบในงานติดตั้ง
  5. ป้ายแสดงในที่เห็นได้ชัดเจนบอกถึงวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน และชื่อผู้มีหน้าที่ปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
  6. ทุกโรงงานจะต้องมีแผนอพยพที่เหมาะสมแสดงให้เห็น และมีรายชื่อผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติตามแผน แสดงชัดเจนในแผนอพยพ
  7. น้ำแข็งที่เกิดสะสมที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบ หรืออุปกรณ์ต้องเอาออก และต้องแก้ไข ต้นเหตุที่เกิดการสะสมน้ำแข็งด้วย
  8. ถ้ามีแอมโมเนียรั่วต้องหาจุดและสาเหตุที่รั่ว และแก้ไขซ่อมแซม
  9. เสียงที่ผิดปกติ, การสั่นของท่อ, พัดลม,ปั๊มของระบบน้ำยาด้วยแรงดัน การเกิดการกระแทกไฮดรอลิกภายในท่อ ต้องได้รับการตรวจสอบและแก้ไข
  10. ที่ฉีดน้ำล้างตา, น้ำฝักบัวราดตัวขนาดใหญ่ ต้องถูกจัดเตรียมบริเวณด้านนอกของห้องเครื่องจักรใกล้ประตูทางออก และควรมีที่ฉีดน้ำล้างตา และน้ำฝักบัวราดตัวขนาดใหญ่เพิ่มเติมอยู่ภายในห้องเครื่องจักร ซึ่งอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานด้วย
  11. ห้องเครื่องจักรทุกห้องต้องมีหน้ากากกันไอแอมโมเนียแบบมีถังอากาศ (Self contained breathingapparatus) จัดเตรียมไว้ด้านนอกห้องเครื่องจักรใกล้ประตูทางออก และต้องมีชุดสำรองจัดเตรียม ไว้ด้วย
  12. ถ้ามีช่องทางออกเพียงทางเดียวจากห้องเครื่องไปบริเวณใช้งานอื่น ต้องไม่เดินท่อแอมโมเนียหรือติดตั้งอุปกรณ์ในช่องทางเดินนั้น และต้องไม่มีสิ่งกีดขวางในช่องทางนั้น
  13. ต้องไม่มีขวดน้ำยาแอมโมเนียต่ออยู่กับระบบ (ไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร) เว้นแต่ในขณะทำการถ่ายน้ำยา โดยผู้มีหน้าที่เฉพาะ
  14. จะต้องมีเอกสารบันทึกประจำวันของการทำงานของ เครื่องจักร, การบำรุงรักษาและงานซ่อมแซมระบบทำความเย็น
  15. จะต้องมีเอกสารบันทึกประจำแสดงการเติมน้ำมันหล่อลื่น และการถ่ายน้ำมันหล่อลื่นออกจากระบบ

ระยะเวลาในการตรวจสอบความปลอดภัย

  1. ทุกโรงงานต้องมีผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของโรงงานโดยเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่รักษากฎระเบียบความปลอดภัยของระบบเครื่องทำความเย็น
  2. ทุกปีเจ้าของโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบแอมโมเนีย
  3. ทุกๆ 5 ปีต้องมีการตรวจสอบระบบเครื่องทำความเย็นแอมโมเนียอย่างละเอียดทั้งระบบโดยวิศวกรที่เชี่ยวชาญระบบทำความเย็นและ/หรือโดยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเฉพาะทาง