ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าสารทำความเย็นรั่ว

การรับรู้สารทำความเย็นรั่ว... ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่าสารทำความเย็นรั่ว (น้ำยาแอร์)

  • การทดสอบรอยรั่วของระบบทำความเย็นซึ่งจะต้องใช้แก๊สไนโตรเจนเท่านั้น
  • ด้าน LOW-PRESSURE ทดสอบหารอยรั่วที่ความดันไม่เกิน 15 บาร์ (200 PSIG)
  • ด้าน HI-PRESURE ทดสอบหารอยรั่วที่ความดันไม่เกิน 20 บาร์ (300 PSIG)
  • ใช้น้ำสบู่หรือน้ำแชมพูหารอยรั่ว
  • อัดความดันค้างไว้ประมาณ 48 ชั่วโมง

สังเกตอาการรั่วในระบบทำความเย็น

  • สังเกตคราบน้ำมันบริเวณข้อต่อและหน้าแปลนต่างๆ
  • สังเกต SUCTION PRESSURE / DISCHARGEPRESSUE ลดต่ำลง
  • สังเกตจากอุณหภูมิห้องไม่เย็นตามที่เคยใช้งานปกติ
  • สังเกตจากเสียงแก๊สวิ่งผ่าน EXPANSIONVALVE ถ้าเป็นของเหลวจะไม่ได้ยินเสียงแก๊สวิ่ง
  • สังเกตอุณหภูมิท่อ LIQUID ทางเข้าและออกของ EXPANSION VALVE ถ้าอุณหภูมิท่อทางออกใกล้เคียงกับท่อทางเข้า แสดงว่าน้ำยาน้อยถ้าปกติ อุณหภูมิท่อทางออกต้องเย็นกว่าท่อทางเข้า
  • สังเกต SUCTION PRESSURE สูง แต่DISCHARGE PRESSURE ต่ำ

วางแผนบำรุงรักษาและซ่อมบำรุงการบำรุงรักษาประจำวัน

  • ระดับน้ำมันหล่อลื่นของคอมเพรสเซอร์
  • ความดันน้ำมันหล่อลื่นของคอมเพรสเซอร์
  • ความดันด้านทางดูดและทางส่งของคอมเพรสเซอร์
  • อุณหภูมิแก๊สทางดูดและทางส่ง (SUCTIONAND DISCHARGE GAS TEMP.)

การบำรุงรักษาตามระยะเวลาใช้งาน

  • น้ำมันหล่อลื่น : เปลี่ยนทุกปี หรือเมื่อน้ำมันเปลี่ยนสี
  • STRAINER FILTER : ทำความสะอาดทุกครั้งที่อุดตัน
  • FILTER DRYER : เปลี่ยนทุกครั้งที่ระบบชื้นและสกปรก
  • สารทำความเย็น : เติมเพิ่มเมื่อจำเป็น
  • หารอยรั่วในระบบ : ตรวจหารอยรั่วตามข้อต่อหน้าแปลนต่างๆ ระหว่างการใช้งานและหยุดใช้งาน
  • อุปกรณ์ความปลอดภัยในระบบ :ตรวจสอบค่าที่ตั้งไว้และการทำงานของอุปกรณ์ว่าถูกต้องหรือไม่
  • SUCTION AND DISCHARGE VALVE :เปลี่ยนทุกการทำงาน 10,000 ชั่วโมง
  • OIL PUMP : ตรวจสภาพ BEARING OILPUMP ทุก 10,000 ชั่วโมง
  • มอเตอร์ : ทำความสะอาดและอัดจารบีตามที่คู่มือกำหนด
  • COUPLING ALIGNMENT : ตรวจสอบศูนย์เครื่อง และความตึงสายพาน
  • คอนเดนเซอร์ : ทำความสะอาด
  • สภาพผุกร่อน : ตรวจทุก 3 เดือน
  • EVAPORATOR : ต้องปราศจากน้ำแข็งอุดตัน และต้องสะอาด

ในทางปฏิบัติจริง การบำรุงรักษาระบบจะต้องทำการศึกษารายละเอียดจากคู่มือการออกแบบและการติดตั้งของผู้ผลิต