วงจรประกอบ ในแผนผังทางไฟฟ้า 5 ประเภท

วงจรประกอบในแผนผังทางไฟฟ้า เป็นวงจรย่อยส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบที่มีลักษณะเป็นงานเฉพาะ จึงจำเป็นต้องแยกออกเพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ

1. วงจรควบคุมชนิด Lock in Circuit เป็นวงจรเสริมที่ช่วยให้ระบบคงสภาพการทำงานต่อไปได้ หลังจากปุ่ม Start ถูกตัดออกจากวงจร โดยจะหยุดทำงานเมื่อมีการกดปุ่ม Stop

2. วงจรควบคุมชนิด interiocking circuit เป็นวงจรควบคุมซึ่งจะทำงานประสานกันเรียงตามลำดับ เช่น คอมเพรสเซอร์จะยังทำงานไม่ได้ ถ้าพัดลมคอยล์เย็นและพัดลมคอยล์ร้อนยังไม่ทำงาน

3. วงจรควบคุมชนิด trickle circuit ใช้ทำหน้าที่แทน crankcase heater ขณะคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานโดยการให้กระแสไฟฟ้าผ่านคาปาซิเตอร์แบบรันเข้าไปยังขดลวดสตาร์ตเพื่อช่วยอุ่นภายในคอมเพรสเซอร์ ป้องกันน้ำยาควบแน่นเป็นของเหลว โดยกระแสที่เกิดขึ้นมีค่าน้อยจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายในขดลวด เช่น ขณะทำงานวัดกระแสในขดลวดได้ 7A วัดกระแสในขดลวดสตาร์ตได้ 4.5A ขณะ off cycle กระแสที่ผ่านขดลวดรันจะมีค่าเพียง 0.3A และกระแสที่ผ่านขดลวดสตาร์ตจะมีค่า 1.8A เป็นต้น

4. วงจรควบคุมชนิด pump down circuit เป็นวงจรควบคุมอุณหภูมิ โดยเมื่อเทอร์โมสตัทตัด จะทำให้ solenoid valve ถูกตัดและปิดท่อน้ำยาเหลวในระบบคอมเพรสเวอร์จะทำงานต่อไปได้อีกจนความดันด้านต่ำลดลงจนถึงค่าที่ตั้งไว้ สวิตซ์ควบคุมด้านความดันต่ำ (LP-switch) จึงจะตัดให้คอมเพรสเซอร์หยุดทำงาน เมื่ออุณหภูมิในห้องสูงขึ้น เทอร์โมสตัทจะต่อวงจรให้ solenoid valve ทำงาน น้ำยาจะผ่านเข้าไปยังระบบด้านความดันต่ำทำให้สวิตซ์ควบคุมด้านความดันต่ำต่อวงจร คอมเพรสเซอร์จะเริ่มต้นทำงานสร้างความเย็นใหม่

5. วงจรควบคุมชนิด non-short cycle circuit ใช้เสริมระบบที่ควบคุมอุณหภูมิโดยวิธีการ pump down (ข้อ 4) เพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์ทำงานใหม่โดยที่เทอร์โมสตัทยังไม่ได้ต่อวงจร แต่เกิดการรั่วของ discharge valve หรือ solenoid valve ซึ่งจะทำให้สวิตซ์ควบคุมด้านความดันต่ำต่อวงจร แต่ non-short cycle circuit ช่วยป้องกันคอมเพรสเซอร์ไม่ให้กลับไปต่อวงจรใหม่ได้ ต้องรอจนกว่าเทอร์โมสตัทจะต่อวงจร