ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์ และหลักการทำงาน

คาปาซิเตอร์ มีส่วนประกอบหลักคือ แผ่นตัวนำไฟฟ้า จำนวน 2 แผ่นอยู่ใกล้กัน โดยมีฉนวนไฟฟ้ากั้นระหว่างกลาง เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่คาปาซิเตอร์ จะเกิดอิเล็กตรอนที่ทางฝั่งหนึ่งของแผ่นตัวนำไฟฟ้า

คาปาซิเตอร์ในวงจรกระแสสลับนั้น ตอนแรกอิเล็กตรอนจะรวมกันที่ข้างหนึ่งของแผ่นนำไฟฟ้า แล้วพอซักพัก จะสลับข้างไปอีกฝั่งหนึ่ง เป็นแบบนี้เรื่อยๆ ในทุกๆความถี่ของกระแสไฟฟ้าสลับ

คาปาซิเตอร์สำหรับเครื่องปรับอากาศนั้น มี 2 ชนิดคือ

1. คาปาซิเตอร์สตาร์ท หรือ แคปสตาร์ท มีรูปร่างทรงกระบอกกลม มีหน้าที่ช่วยในการทำงานหรือสตาร์ทตัวของมอเตอร์ โดยการทำให้เกิดโวลต์สูงขึ้นในช่วงต้น แล้วหยุดการทำงานทันที

2. คาปาซิเตอร์รัน หรือ แคปรัน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกรี มีหน้าที่ช่วยแก้ค่า Power Factor ของมอเตอร์แอร์ และลดการกินไฟของมอเตอร์ ซึ่งจะทำงานคู่กับวงจรตลอดเวลา

คาปาซิเตอร์จะมีหน่วยการเรียกเป็น ฟารัด (Farad) ซึ่งมีหน่วยย่อยคือ ไมโครฟารัต (Micro Farad) ซึ่งค่าไมโครฟารัตของคาปาซิเตอร์รัน จะต่ำกว่าค่าของคาปาซิเตอร์สตาร์ท หากจำเป็นต้องเปลี่ยนตัวคาปาซิเตอร์ ในเครื่องปรับอากาศ จำเป็นมากที่จะต้องใช้ขนาดเดิมในการเปลี่ยนทุกครั้ง